วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิดีโอดอกไม้



วิดีโอดอกไม้ต่างๆ



ประวัติผู้จัดทำ


ประวัติผู้จัดทำ


ชื่อ : นางสาว จุติพร   ไกยสิทธิ์
ชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เลขที่ :19
เกิด : วันที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2540
ที่อยู่ : 41/2 หมู่ 6 ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ จังศรีสะเกษ 33170
สีที่ชอบ : ขาว
ดอกไม้ที่ชอบ : ดอกแก้ว
อาหารที่ชอบ : ต้มยำทะเล
ดาราที่ชอบ : Golf - Mike
ศิลปินที่ชอบ : K-otic







ชื่อ : นางสาวเจนจิรา    สุดตา
ชื่อเล่น : เจน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1  เลขที่ 20
เกิด : วัน จันทร์ ที่ 23 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2539
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 10 ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 33170
สีที่ชอบ : สีเขียวอ่อน ฟ้า ชมพู
ดอกไม้ที่ชอบ : ดอกลิลลี่
อาหารที่ชอบ : ส้มตำ
ดาราที่ชอบ : เอิร์ธ SuckSeed
ศิลปินที่ชอบ : โตโน่ The Star 6





วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกทิวลิป




ดอกทิวลิป

             

อย่างที่ทราบกัน ว่าดอกไม้ที่คนชอบกันมากอีกชนิดหนึ่งคือ ทิวลิป
ต้นกำเนิดของมันที่คนปลูกเป้นชาติแรกคือเปอร์เชียหรือที่อิหร่านสีดั่งเดิม
คือกลีบสีแดงกํ่าและกะเปาะของมันจะเป็นสีดํา สมัยก่อนผู้ชายนิยมใช้
ดอกทิวลิปสีนี้ให้กับสาวคนรักเพราะจะมีความหมายว่ามีความรักความอบอุ่น
สีแดงให้ความร้อนอบอุ่นส่วนสีดำในส่วนของกะเปาะดำเหมือนถ่านหิน
ที่ให้ความอบอุ่นในฤดูหนาวลึกซึ้งไม่ใช่เล่น
    คำว่า ทิวลิปหมายถึงผ้าโผกศรีษะของชาวตุรกี ทางตะวันออกของ
ยุโรบได้มีการปลูกดอกทิวลิปมานนานแล้วมากกว่า1000ปี) มันเป้น
ไม้ที่เกิดเองในธรรมชาติของอิหร่านกับที่เมืองคาบุลอยู่แล้ว
แต่เล่ากันว่ากษัตย์ที่ยิ่งใหญ่ที่ชื่อ เบเบอร์ ได้นับดอกทิวลิปว่ามีกี่ชนิด
ปรากฏมีถึง33ชนิดด้วยกันค่ะ ( The Great Mogul Baber) 
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับดอกทิวลิปค่ะ ว่าดอกทิวลิปดอกแรกที่เกิดมาบน
โลกนี้เกิดจากเลือดของคู่รักคู่หนึ่งเลยถือเอาว่าดอกทิวลิป
เป็นสัญลักษณ์ของความรักที่ถูกต้อง เป็นความรักที่เปิดเผยและการยอมรับ
    ดอกทิวลิปเป็นดอกไม้ที่รูปทรงสวยงาม สีสวยมีหลายสีพวกกวีนิยมเขียน
บทกวีเกี่ยวกับดอกไม้ชนิดนี้รวมถึงนักวาดรูปก้นิยมวาดรูปดอกไม้ชนิดนี้กันมากค่ะ
ดอกทิวลิปเป้นเครื่องหมายของจักรวรรดิออตโตมานอีกด้วย
    เล่ากันว่ามีฑูตของอาณาจักร์โรมัน( ชาวโรมันเคยรุกรานและ
ครอบครองแถบยุโรบไต้ถึงกรีก อัลบาเนีย ตุรกีเตั้งแต่ก่อนพระเยซูประสูติ
เสียอีกพอรบชนะจะเอาเป็นเมืองขึ้นและจะมีผู้สำเร็จราชการมาปกครอง)
ฑูตคนนี้ไ้ด้ส่งเมล็ดดอกทิวลิปหลายชนิดกลับไปให้ คลูเชียส ในกรุงเวียนนา
(ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นประเทศออสเตรีย) นายคลูเชียสได้ทดลองเพาะปลูก
จนได้ที่แต่ยังไม่รู้จักดอกทิวลิปเลยเอาหัวดอกทิวลิปที่เพาะได้เอาไปเป้นอาหารค่ะ
โดยเอาไปทานนํ้ามันมะกอกผสมกับนํ้าส้มสายชู
แม้แต่ที่ฮอลแลนด์สมัยก่อนถ้าเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงก็ได้ใช้
หัวดอกทิวลิปเป้นอาหารเหมือนกันค่ะ
    เนื่องจากความงามของดอกทิวลิปเริ่มเป้นที่นิยมพวกเศรษฐีเริ่ม
สั่งซื้อหัวทิวลิปเป้นจำนวนมากจากตุรกีโดยผ่านพ่อค้าคนกลางชาวเวนิส
ต่อมาในปีคศ.1577 คลูเชียสได้เริ่มส่งหัวดอกทิวลิปเข้าอังกฤษ
พอเริ่มศตวรราที่17 ชาวฝรั่งเศสเริ่มสนใจดอกทิวลิปบ้าง
พอในปีคศ.1610 สาวๆฝรั่งเศษนิยมสวมกระโปรงสุม
ไก่ทรงดอกทิวลิป(คอสแสจหรือcorsage) คือกระโปรงแข็งๆสวมอยุ่
ไต้กระโปรงบานเพื่อรัดรูปร่างให้เพรียว สวยงามเอวบางร่างน้อยแบบ
ที่นางเองหนังเพลงหรือหนังคาวบอย สวมในหนัง/กระโปรงสุ่มไก่)
    ยุโรบคลั่งดอกทิวลิป- ในตอนต้นศตวรรษที่17 ชาวฮอแลนด์
คลั่งทิวลิปกับเขาบ้างราคาของดอกทิวลิปขี้นลงไม่เหมือนกันทุกวัน
ถ้าดอกทิวลิปแปลงเล็กๆอาจจะมีราคาถึง15000-17000 ฟรังค์(
นึกดูเอาเองค่ะเมื่อหลายร้อยปีก่อน ดอกไม้1แปลงราคาเกือบถึงสองหมื่น)
เขาใช้หัวดอกทิวลิปแทนเงินตราต่างประเทศ
    ผู้คนเก็งกำไรกันใหญ่ไม่มีการทำฟาร์มปลูกข้าวเลี้ยงสัตวืเพื่อเป็น
อาหารอีกต่อไป ทุกคนหันมาปลูกดอกทิวลิปกันหมด ไม่มีใครรับจ้างทำงาน
อีกต่อไปเลิกทำมาค้าขายมาเป้นชาวไร่ปลูกดอกทิวลิปกันหมดเพราะราคาดี
ยกตัวอย่างหัวดอกทิวลิปที่ชื่อพันธ์ว่า ไวซ์-รัวร์  ( vice- Roi ) 1 หัว
มีค่าเท่ากับข้าววีต  36 ถัง วัว 4 ตัว์ แกะ12ตัว หมูอีก 8ตัว
ไวนื 2 ถัง เบียร์ 4 ถัง เนย 2 ตัน เนยแข้งหนัก 1000 ปอนด์  เตียงนอน
เสื้อผ้า ชุดดเครื่องเงิน ราคาหมดนี้รวมเป้นเงินสกุลของดัทซ์
เท่ากับ 2500 ฟลอริน
    ยังมีบางรายที่จ่ายเป้นทองคำหนักเท่ากับนน.ของหัวดอกทิวลิปค่ะ
และจะต้องได้คำรับรองว่าเขาผู้ซื้อมีลิขสิทธฺ์ในดอกทิวลิปพันธ์แท้เท่านั้น
นี้แต่เพียงผู้เดียว ความบ้าคลั่งดอกทิวลิปยังรวมไปถึงแฟชั่นการแต่งกาย
เสื้อผ้า เครื่องประดับร่างกาย ผ้าม่านของตกแต่งบ้านอีกจิปาถะ รวมเป้น
การเก็งกำไรในตลาดหุ้นอีกด้วย มีการออกใบลิขสิทธ์ดอกทิวลิปพันธ์แท้
ราคาแพงมหาศาลมีการซื้อต่อกันไปต่อกันมามีการเก็งและขายเอากำไร
ถึง10ล้านฟลอรินต่อมามีคนล้มละลายเป้นอันมากเมื่อกระแสนิยม
ดอกทิวลิปตกลง คนธรรมดาเริ่มมีสิทธิ์ที่จะชื่นชมดอกทิวลิปบ้างแล้ว
เหมือนสุภาษิตฝรั่งบอกว่า " คนจนได้กินนั้าแข็งในหน้าหนาว คนรวย
ได้กินนํ้าแข้งในหน้าร้อนนั่นแหละ " พวกโรมันนี่แหละเหลือเชื่อค่ะ
พอหน้าร้อนทนอากาศร้อนแห้งแบบเมดิเตอร์เรเนียนไม่ไหวจะส่งพวกทหาร
ไปเอานํ็าแข็งที่ยอดเขาแอลป์โน่นมาทานแก้ร้อนกัน พวกคนจนหรือทาสชาวยิว
ได้แต่มองตาปริบๆเท่านั้นเองไม่มีปัญญากินนํ้าแข็งในหน้าร้อนเลยมีคำเปรียบเปรยที่ว่านี้
    อย่างไรก้ดี ในตุรกียังให้ความสำคัญกับดอกทิวลิปอยุ่มีบันทึก
เขียนไว้ว่า นักปลูกดอกทิวลิปมืออาชีพชื่อว่า ชิ๊ค โมฮัมเหม็ด ลาซารี
เขาผู้นี้เป้นตัวแทนจาก อาหเหม็ดได้นับหรือคัดสรรพันธ์ดอกทิวลิปไ้ด้ถึง
1323 ชนิด ต่อมาได้มีการจัดนิทรรศการณ์ดอกทิสิปประจำปีขึ้นเมื่อ
ศตวรรษที่19 และยังคงจัดต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
ดอกทิวลิปยังเป้นดอกไม้ที่สวยงามและเป้นที่นิยมของคนทั่วไปละ
ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นอีกมากมายค่ะ
รูปภาพมาจาก เว็บชื่อว่า Steve Fazzio 
ประวัติดอกทิวลิป

           ดอกทิวลิป (Tulip) ดอกไม้เมืองหนาวออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ ในปัจจุบันมีการผสมพันธุ์ทิวลิปมากกว่า 100 ชนิน เราจะเห็นทุ่งทิวลิปคุ้นตาตามหนังสือท่องเที่ยว และกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฮอลแลนด์ ใครที่เคยไปเยือนประเทศนี้ต้องเคยไปเที่ยวสวนเคอเคนฮอฟ ชานเมืองลิซเซ่ (Lisse) ซึ่งเป็นแหล่งปลูกทิวลิปที่ใหญ่และสำคัญยิ่งของฮอลแลนด์ เมืองลิซเซ่อยู่ห่างจากอัมสเตอร์ดัมเพียง 29 กิโลเมตร
               ดอกทิวลิป มีต้นกำเนิดที่ประเทศตุรกี เป็นดอกไม้ป่า ที่ขึ้นเองในธรรมชาติ สมัยโบราณเจ้าหน้าที่ตุรกีได้นำดอกทิวลิป มามอบให้กับทูตเวียนนา เพื่อไปปลูกยังประเทศออสเตรีย แต่มีคนสวนชาวฮอลแลนด์นำกลับมาปลูก และเพาะพันธุ์ และผสมพันธุ์ใหม่จนเกิดเประวัติดอกทิวลิป็นหลากหลายสี และหลายพันธุ์ การผสมพันธุ์ ดอกไม้ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาตินั้น จึงขัดต่อหลักศาสนา และถูกห้าม จึงทำให้หัวทิวลิปนั้นมีราคาแพง คนรวยในสังคมชั้นสูงจึงจะมีเงินซื้อมาปลูก และมีราคาแพงมากจนถูกห้ามปลูก ในอังกฤษ จากนั้นการเพาะพันธุ์ทิวลิป ได้รับการยอมรับและรัฐบาลสนับสนุน และเป็นสินค้าส่งออกทีสำคัญอย่างหนึ่งของ เนเธอร์แลนด์ ทิวลิปมากกว่าครึ่ง ส่งไปจำหน่ายที่อเมริกา
มีความหมายถึงการตกหลุมรักหัวปักหัวปำ ความรักที่ฉาบฉวยและจึดจางอย่างรวดเร็ว 


ดอกป๊อบปี้


ดอกป๊อบปี้

  ในทางสากลแล้วถือว่า เป็นดอกไม้ที่สื่อความหมายถึง ทหารผ่านศึกผู้พลีเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องมาตุภูมิอันเป็นที่รัก และในประเทศไทยยังกำหนดให้เป็น สัญลักษณ์ ของวันทหารผ่านศึก ๓ กุมภาพันธ์ ของทุกปีอีกด้วย ซึ่งในวันนี้ดอกป๊อปปี้สีแดงจะบานสะพรั่งไปทั่วแผ่นดิน
                           สำหรับประเทศไทยแล้ว การจัดทำดอกป๊อปปี้เพื่อจำหน่ายในวันทหารผ่านศึกเกิดจากดำริของ ท่านผู้หญิง จงกล กิตติขจร ประธานสโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก หรือมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในปัจจุบัน ที่ต้องการจะดำเนินการหาทุนมาช่วยเหลือทหารและครอบครัวทหารผ่านศึก ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ จึงได้เลือกเอาดอกป๊อปปี้สีแดง ซึ่งมีประวัติเกี่ยวโยงถึงสมรภูมิฟลานเดอร์ส สมรภูมิเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์ระหว่างสัมพันธมิตร และเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยสงครามในครั้งนั้น ทหารพันธมิตรได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากสมรภูมินี้มากที่สุด จอมพลเอิร์ล ออฟ เฮก ผู้บัญชาการรบที่นั่นได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าพิศวงและน่าพิศมัยเกิดขึ้น ณ สมรภูมิดังกล่าว ในบริเวณหลุมฝังศพทหาร
                           โดยมีดอกป๊อปปี้ป่าขึ้นอยู่เดียรดาษทั่วไป ทำให้เกิดเป็นลานสีแดงฉานสวยงาม ตั้งแต่นั้นมาดอก ป๊อปปี้จึงกลายเป็นดอกไม้อนุสรณ์แห่งวีรกรรมของทหารผ่านศึก เตือนใจให้ระลึกถึงเลือดสีแดงของทหารที่ได้เสียสละเพื่อประเทศ ชาติ สำหรับประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามต่าง ๆ มาแล้วโดยมีอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติปรากฎเป็นอนุสรณ์อยู่ วีรกรรมของนักรบไทย ในการรบได้ขจรขจายไปทั่วปรากฎต่อสายตาชาวโลก ฉะนั้นเพื่อระลึกถึงเกียรติภูมิของนักรบกล้าหาญ จึงได้กำหนดให้ดอกป๊อปปี้ เป็นดอกไม้ที่ระลึกสำหรับทหารผ่านศึกไทย เช่นเดียวกันในต่างประเทศ และมีการจำหน่ายในวันที่ระลึก ทหารผ่านศึกตั้งแต่ ปี ๒๕๑๑ เป็นต้นมา
                           ในวันทหารผ่านศึก ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ นี้ คนไทยทุกคน จะได้มีโอกาสแสดงความระลึกถึงคุณความดี และความกล้าหาญของเหล่าบรรดาวีรชนไทย ที่ยอมสละเลือดเนื้อ และชีวิตเพื่อปกป้อง เอกราชอธิปไตยของแผ่นดินไทยไว้ให้พวกเรา ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมาจนทุกวันนี้ โดยช่วยกันซื้อดอกป๊อปปี้

ลั่นทม หรือลีลาวดี


ลั่นทม หรือลีลาวดี

ลั่นทม ความเชื่อแต่เดิมเข้าใจผิดไป ด้วยเหตุที่ออกเสียงได้พ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า โศกเศร้าเสียใจ แต่ในความเป็นจริงนั้นจะหมายความได้ว่า ละซึ่งความโศกเศร้าทั้งปวง ซึ่งเป็นความหมายที่ดีมาก แต่เมื่อมีผู้คนเริ่มนำมาปลูกในบ้านหรือในโรงแรม จึงได้เรียกชื่อดอกลั่นทมใหม่เป็น ลีลาวดี ซึ่งแปลว่า ต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย
พลูมมีเรีย หรือ พลัมมีเรีย (plumieria) เป็นชื่อที่เรียก ลั่นทม หรือลีลาวดี ตามชื่อของนักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชาร์ล พลัมเมอร์ (ค.ศ. ๑๖๔๖-๑๗๐๖) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส ให้แสวงหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ในเขตร้อน เขาได้เดินทางไปยังหมู่เกาะ แคริเบียนถึง ๓ ครั้ง ซึ่งเป็นแหล่งที่ได้พบต้นไม้ที่มีดอกสวยงามและรูปทรงแปลกๆ จึงได้นำกลับมาที่ประเทศฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 และเขาได้ริเริ่มจัดระบบของต้นใม้และดอกไม้ในเขตร้อนให้เป็นหมวดหมู่ ภายหลังนักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศสนาม ทัวนีฟอร์ท ได้ตั้งชื่อต้นลั่นทมว่า พลัมเมอร์เรีย (plumieria) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย ชาร์ล พลัมเมอร์ แต่ภายหลังได้เรียกชื่อเพี้ยนไปเป็น พลูมมีเรีย (plumeria)
ต้นไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า ฟรังกีปานี (frangipani) ซึ่งมีสมมุติฐานว่ามาจากคำในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า ฟรังกีปาเนีย (frangipanier) ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า กลิ่นหอม (fragrance) อีกสมมุติฐานของชื่อนี้คำว่า ฟรังกีปานี มีความหมายถึง ยางสีขาวข้นเหนียวของต้นลั่นทม เมื่อชาวฝรั่งเศสผู้ไปตั้งรกรากในหมู่เกาะแคริเบียนได้สังเกตเห็นยางของลั่นทมจึงเรียกว่า ฟรังกีปานีเออร์ (frangipanier) ซึ่งในภาษาฝรั่งเศส แปลว่านมข้น จึงเป็นไปได้ว่าชื่อสากลของพันธุ์ไม้นี้มาจากภาษาฝรั่งเศส
ต้นลั่นทมได้แพร่หลายในอเมริกาสมัยบุกเบิก ซึ่งต่อมามีการผสมข้ามพันธุ์ทำให้มีสีสันมากมายและหลากลักษณะ นักพฤกษ์ศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ วูดสัน (woodson) ได้แบ่งชนิดของลั่นทมออกเป็น 7 ลักษณะ ตามแหล่งดั้งเดิมของที่มา ดังต่อไปนี้
1.        พลูมมีเรีย อินโนโดรา แหล่งเดิมมาจากประเทศ โคลัมเบีย และ บิตริสกีนา
2.        พลูมมีเรีย พูดิกา ประเทศโคลัมเบีย เวเนซูเอลา และ มาตินิค
3.        พลูมมีเรีย รูบรา ประเทศในอเมริกากลาง
4.        พลูมมีเรีย ซับเซสซิลิส ประเทศฮิสปานิโอลา
5.        พลูมมีเรีย ออบทูซ่า หมู่เกาะบาฮามัส ประเทศ คิวบา จาไมกา ฮิสปานิโอลา
ปอร์โตริโก บริติสฮอนดูรัส
6.        พลูมมีเรีย ฟิลิโฟเลีย ประเทศ คิวบา
7.        พลูมมีเรีย อัลบา ประเทคปอร์โตริโก เวอร์จินไอแลนด์ส และ เลสเซอร์
เอนทิเลส
นอกจากการแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังมีการแบ่งชนิดของลั่นทมตามลักษณะใบ ช่อดอก และสี อีกด้วย การตั้งชื่อชนิดของลั่นทมได้มีอย่างกว้างขวางไปทั่วทุกแหล่งที่นิยมปลูก ประเทศที่ให้ความสำคัญถึงกับมีการตั้งสมาคม ก็คือ สหรัฐอเมริกา โดยมีการจดทะเบียนชื่อตามลักษณะต่างๆ ดังที่กล่าวถึงกว่า 300 ชื่อ จากจำนวนของลั่นทมที่มีอยู่เดิม(generic)
และที่มีการผสมพันธุ์ (hybrid) กว่า 1,000 ชนิดทั่วโลก
ต้นลั่นทมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เนื้อไม้อ่อน แตกกิ่งเป็นแฉกเป็นง่ามกระจาย
ออก ทำให้เกิดทรงพุ่มใหญ่ กิ่งเปราะง่าย ทิ้งใบในฤดูแล้ง แล้วผลิดอก และใบรุ่นใหม่ ในช่วงราวเดือนเมษายนเป็นต้นไป เราจะได้ชมดอกลั่นทมบานเต็มต้น ปราศจากใบบัง สวยงามมาก ใบลั่นทมโตเป็นรูปใบหอก แข็งแรงมีสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อ ถ้าต้นสมบูรณ์ดี ช่อหนึ่งจะมีดอกหลายสิบดอกเป็นกลุ่มสวยงามมาก มีกลีบดอก 5 กลีบ มีหลายลักษณะ บางชนิดกลีบเวียนซ้อนกัน บางชนิดกลีบดอกเรียงกัน บางชนิดปลายกลีบดอกแหลม บางชนิดปลายกลีบดอกมน มากมายหลายสี บางต้นอาจมีดอกมีสีเดียว เช่น ขาว แดง ชมพู แต่บางต้นจะมีดอกที่มีสีแซมกันเป็นหลายสี ขนาดดอกใหญ่ เล็ก ต่างกัน ดอกลั่นทมมีกลิ่นหอมพิเศษ ช่วยให้ผ่อนคลาย ส่วนที่จะหอมมาก หอมน้อย นั้นต่างกันไปแต่ละชนิด จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากในวงการสปา และเป็นไม้มงคลของผู้เกิดราศีมีน 

                                                              

ไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเม็กซิโก และอเมริกาใต้ เป็นไม้วงศ์เดียวกับยี่โถและโมก ชอบแสงแดดจัด ปลูกง่าย และไม่ต้องดูแลมากนัก ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด เป็นพันธุ์ไม้ทนแล้งตามสภาพความเป็นอยู่ ถ้าได้รับการบำรุงดูแลให้ปุ๋ยให้น้ำ หรือบำรุงปุ๋ยสูตร 16-16-16 หรือ 14-14-21 ประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง สลับกับแคลเซียมไนเตรท 15-0-0 ลั่นทมก็จะให้ความสวยงามสดชื่นตลอดปี แต่ไม่ชอบดินแฉะที่มีน้ำท่วมขัง เมื่อได้มีการเผยแพร่ลั่นทมกระจายพันธุ์ไปตามส่วนต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อน จึงเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อย่างที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เกาะฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศศรีลังกา ประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งประเทศหลังนี้ยกย่องลั่นทม ซึ่งประเทศลาวเรียกว่า จำปา เป็นดอกไม้ประจำชาติ เพราะได้เคยใช้ เป็นสัญลักษณ์ในการสร้างพลังเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส และมีการแต่งเพลงที่มีเนื้อร้องถึงดอกจำปาไว้อย่างไพเราะ ดังนี้เพลงดวงจำปา ของ อุดตะมะ จุนละมะนี (คลิ๊กเพื่อฟังเพลงโอ้ดวงจำปา ภาษาลาว)
“โอ้ ดวงจำปา บุปผาเมืองลาว
งามดั่งดวงดาว ชาวลาวเบิ่งใจ
เกิดอยู่ภายใน แดนดินล้านช้าง
เมื่อใดพลัดพราก ที่ไปไกลจาก
บ้านเกิดเมืองนอน เรียมจะเอาเจ้า
เป็นเพื่อนร่วมเหงา เท่าสิ้นชีวา
เจ้าดวงจำปา มาลางามยิ่งมิ่งเมืองลาวเอย”

ประวัติของการที่ลั่นทมเข้ามาในประเทศไทยนั้นมีหลายกระแสความด้วยกัน บ้างบอกว่าลั่นทมเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จฯ เยือนประเทศอินโดนีเซีย เป็นพันธุ์ดอกสีขาว ใบสีเขียวเข้ม โดยนำมาปลูกที่พระราชวัง บนเขาวัง และที่เกาะสีชัง
         แต่ก็ยังมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าลั่นทมได้เข้ามายังประเทศไทยก่อนหน้านั้นแล้ว ด้วยมีบทวรรณกรรมของสุนทรภู่ ซึ่งเกิดและเติบโตในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้กล่าวถึงดอกลั่นทมไว้หลายเรื่อง   
             เช่นเดียวกับบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เรื่องอิเหนาที่กล่าวถึงต้นลั่นทม
เดินพลางทางชมพรรณไม้              พฤกษาใหญ่เรียบเรียงรื่นร่ม
ริมทางหว่างเขาล้วนลั่นทม                                    ต้องลมดอกดวงร่วงเรี่ยทาง
อิเหนา...พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่2  

จึงเป็นไปได้ว่าเมื่อลั่นทมได้เข้ามาจากอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเกิดความนิยมเพาะเลี้ยงอย่างกว้างขวางในหมู่พระราชวัง และวัดวาอารามต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง ลุงสิน เกษตรกรชาวอุตรดิตถ์ ผู้ศึกษาต้นไม้ชนิดนี้มานานสันนิษฐานว่าลั่นทมน่าที่จะเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากยุคนั้นมีชาวต่างชาติเข้ามาพำนักอยู่ และเป็นข้าราชบริพารจำนวนมาก และเมื่อเสียชีวิตจึงได้นำต้นลั่นทมไปปลูกไว้ในสุสาน เพื่อความสวยงามและเป็นสัญลักษณ์ตำแหน่งของหลุมศพ คล้ายดังที่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการปลูกต้นลั่นทมไว้ที่สุสานเมืองกาญจนบุรี
ปี 1950 ลั่นทมเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเกาะฮาวาย โดยเอามาร้อยเป็นมาลัยคล้องคอ ในปี ค.ศ. 1960-1970   กิจกรรมที่พ่วงเข้ามากับการท่องเที่ยวอีกอย่างหนึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก นั้นคือ สปา ด้วยความสวยงามและมีกลิ่นหอมจรุงใจ ดอกลั่นทมจึงมักจะอยู่ควบคู่กับสปา และมีบริการนักท่องเที่ยวอย่างแพร่หลายในเอเชียอาคเนย์ ตั้งแต่บาหลี อินโดนีเซีย และประเทศไทย  ในมุมของนักจัดสวน ลั่นทม เป็นไม้ที่สวยงาม ดอกหอม พุ่มใบแผ่กว้างให้ร่มเงา สามารถนำจัดได้กับสวนทุกแบบ ทั้งเป็นไม้ที่โตช้า ง่ายแก่การควบคุมดูแลรักษา และถ้าจะให้มีรูปทรงต้นที่ชัดเจนก็ต้องเป็นต้นที่โตสักหน่อย จึงเกิดความนิยมวิธีขุดล้อมต้นที่โตแล้ว และด้วยเหตุที่ต้นขนาดใหญ่ มีรูปทรงที่สวยงามนั้น จะเป็นต้นที่มีอายุมาก ปลูกไว้ตามวัดวา และที่สาธารณะ มีจำนวนน้อยกว่าความต้องการ จนทำให้ลั่นทมต้นใหญ่ๆ นั้นแทบไม่หลงเหลือให้เห็นตามสถานที่ดังกล่าว ราคาก็ถีบสูงขึ้น ไม้เก่าบางต้นจำหน่ายกันในราคาสูงถึงหลักหมื่นหลักแสนเลยทีเดียว
ตามความเข้าใจเดิมของคนโบราณ ลั่นทม นั้นออกเสียงพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศกเสียใจ แต่มีผู้รู้ในหลักภาษาไทยได้อธิบายว่า ลั่นทม เป็นการละแล้วซึ่งความโศกเศร้า ซึ่งลั่นทมเป็นคำผสมของคำว่า ลั่น+ทม โดย ลั่น หมายถึง แตกหัก ละทิ้ง ส่วน ทม คือ ความทุกข์โศก เมื่อรวมความแล้ว จึงหมายถึง การละทิ้งความระทมทุกข์ทั้งปวง  ซึ่งเป็นความหมายที่ดี ทางภาคใต้เรียกลั่นทมว่า ดอกไม้ขอม เป็นดอกไม้บูชาครู หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทางอีสานนั้นเรียก จำปาลาว เหมือนสาธารณรัฐประประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางภาคพื้นตะวันตกของไทยเรียก จงป่า
อีกเหตุผลหนึ่งที่คนไม่นิยมนำลั่นทมมาปลูกในบ้าน คือ ในสมัยก่อนนิยมปลูกในสุสานหรือป่าช้า อย่างป่าช้าวัดดอน ตรอกจันทร์ อีกทั้งป่าช้าจีน ไทย แขก นิยมปลูกต้นลั่นทม น่าจะเป็นความต้องการของลูกหลานให้ผู้ตายอันเป็นที่เคารพรักได้ชื่นชมกับความสวยงามของดอกลั่นทม และลั่นทมยังเป็นต้นไม้ขนาดกลางที่ให้ร่มเงาได้ดี ทั้งยังปลูกง่าย โตช้าไม่ต้องตัดแต่งในระยะยาว จึงสามารถปลูกแล้วทิ้งไว้ก็เติบโตได้ดี บ้างก็ให้เหตุผลว่าต้นไม้ชนิดนี้มีกิ่งที่เปราะง่าย มียางสีขาวข้นจากลำต้น กิ่งก้าน รวมถึงช่อดอก ซึ่งอาจมีอันตรายถ้าเด็กซนไปป่ายปีนต้นแล้วหักลงมา หรืออาจระคายเคืองเมื่อไปถูกยางเข้า
จึงห้ามปลูกลั่นทมไว้ในบ้าน
อย่างไรก็ตาม เสน่ห์ความงดงามของพุ่มต้น ใบ ดอก ประกอบกลิ่นหอมอ่อน เป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้พบเห็น ลั่นทมจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทของการเป็นไม้ประดับสวน เริ่มต้นจากโรงแรม รีสอร์ท และเจ้าของบ้านที่มีจิตใจรักต้นไม้ชนิดนี้จริงๆ ก็เริ่มนำเข้ามาปลูก ต่อมามีผู้เรียกลั่นทมว่า ลีลาวดี ซึ่งแปลได้ความหมายว่าเป็นต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย จึงทำให้ผู้ที่ชื่นชอบต้นไม้นี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วหันมาสนใจปลูกกันอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยายางและแก่น-ใช้เป็นยาถ่ายพิษทั้งปวง ถ่ายเสมหะและโลหิต แก้กามโรค แก้ปวดฟัน
ใบ-ลนไฟให้ร้อนพอพอกแก้ปวดบวม ชงน้ำร้อนใช้รักษาหิด
เนื้อไม้-แก้ไอ ในประเทศเขมรใช้เป็นยาขับถ่ายพยาธิ
ราก-เป็นยาถ่าย และทำให้แท้งได้
เปลือกราก-ใช้เป็นยาถ่าย แก้โรคข้ออักเสบ ขับลม รักษาโรคหนองใน
ทั้งต้น- ใช้ปรุงยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
เปลือกต้น- นำมาต้มเป็นยาถ่าย ขับฤดู แก้ไข้ โรคโกโนเรีย ยาถ่าย และยาขับปัสสวะ ทั้งยังมีสารฟลูโอพลูไมริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสของโรคเอดส์ได้
ดอก- ใช้ทำธูป และถ้าใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไขมาเลเรีย
ยางจากต้น-เป็นยาถ่าย รักษาไขข้ออับเสบ ถ้าผสมกับไม้จันทร์ และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน
ดอกลีลาวดี สัญลักษณ์ของ "วันงดสูบบุหรี่โลก"
ในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี จะมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้สูบบุหรี่ พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมกันรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ ซึ่งในปี พ.ศ. 2548 ในประเทศไทยได้ใช้สัญลักษณ์รูปดอกลีลาวดี ในการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ ได้มีการจัดขบวน “มอบการ์ดดอกลีลาวดี แทนกำลังใจ เพื่อวันใหม่ไร้บุหรี่” สำหรับผู้ที่ตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่ เพื่อให้ระลึกถึงความสุข สดใส ห่างไกลโรคภัย ต่างๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ตลอดอายุขัยตลอดไป

 

ลีลาวดี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria spp.
ตระกูล Apocynaceae
ชื่อสามัญ Frangipani,Pagoda,Temple
 ถิ่นกำเนิดเม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป
ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีกิ่งก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวออ่นนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจากปลายยอดเหนือใบแต่กก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบหรือออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก บางต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ดอกโดยทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกของ ลีลาวดีมีสีสรรหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมีขนาด 2 - 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 - 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปี

     


ฤดูกาลออกดอก
ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน บางพันธุ์ออกดอกตลอดปี เช่น ขาวพวง
สภาพการปลูกลีลาวดี เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำมาก ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่าย จะทำให้รากเน่า โคนเน่าได้ ลีลาวดีจะเจริญเติบโต
ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึงหากไม่ได้รับแสงแดดเต็มที ก็จะไม่ออกดอก แต่บางพันธุ์ก็ไม่ต้องการแสงแดดจัดในช่วงบ่าย
การขยายพันธุ์ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด,การปักชำกิ่งการขยายพันธุ์แบบนี้จะไม่มีรากแก้ว,การเสียบยอดพันธุ์ดีสามารถทำให้ในหนึ่งต้น เสียบยอดให้ได้ดอกหลายสีได้ ,และการขยายพันธุ์โดยการติดตา
การปลูกและดูแลรักษาการปลูกในกระถาง
ลีลาวดีจะตอบสนองต่อวัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีวัตถุและได้รับปุ๋ยเสริมตามความเหมาะสม สัดส่วนที่ปลูกนกระถางโดยทั่วไป 50% มูลวัวที่ย่อยสลายดีแล้ว 25% ใบไม้ผุ 25% ดิน การให้น้ำ ใส่น้ำให้ดินในกระถางให้
เปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งก่อนให้น้ำครั้งต่อไปซึ่งอาจจะเป็นอาทิตย์ละ
2ครั้ง หรือถ้าช่วงแล้งจัดๆ อาจเป็นวันเว้นวัน อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบความชื้นวัสดุปลูกอย่างสม่ำเสมอ แต่วัสดุปลูกที่มี
ขนาดเล็กละเอียด เมื่อถึงระยะหนึ่งจะอัดตัวแน่นและรากจะไม่สามารถเจริญผ่านจุดนี้ไปได้น้ำก็จะขังไม่สามารถระบายน้ำได้
ในที่สุดจะทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้
การปลูกลงดินในแปลงปลูก
ดินควรเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่ายไม่เหมาะที่จะใช้ในการปลูก ดินควรมี
มาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสม สามารถดูดยึดความชื้นได้ดี ในขณะเดียวกันต้องมีการระบายน้ำได้ดี การให้น้ำ ในการปลูกลงดิน
ให้น้ำแต่นอ้ยให้ปริมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยูรกับสภาพความชื้นอากาศด้วย ถ้าอากาศร้อนแห้งแล้ง ก็ต้องให้น้ำบ่อยกว่าปกติ
เพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่ให้น้ำมากเกินไปก็จะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออกดอก
การให้ปุ๋ย
ลีลาววดีจะเจริญเติบโตงอกงามได้ดีที่สุดในปุ๋ยทีมีไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสสูง และโพแทสเซียม ในปริมาณที่เพียงพอ เนื่อง
จากธาตุฟอสฟอรัสจะกระตุ้นการออกดอก โดยทั่วไปลีลาวดีจะแตกกิ่งกานเมื่อมีดอก ดังนั้นต้องให้ปุ๋ยที่ส่งเสริมการออกดอก
ซึ้งเมื่อออกดอกมากก็หมายถึงจะมีกิ่งก้านสาขามากตามมา ส่วนธาตุไนโตรเจนจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่ง
ก้าน ใบ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป จะทำให้มีใบมากเกินไป และไม่มีดอก นอกจากนั้นยังต้องได้รับธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซี่ยม
และกำมะถัน โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียม เพื่อป้องกันโรคใบไหม้รวมทั้งธาตุอาหารจุลธาตุที่เพียงพอ ได้แก่ ธาตุเหล็ก อลูมิเนียม
ทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม โบรอน และคลอไรด์ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยป้องกันอาการใบซีด




ดอกชบา



ดอกชบา


ชื่อสามัญ                                Chinese rose

ชื่อวิทยาศาสตร์                    Hibiscus rosa sinensis.

ตระกูล                                    MALVACEAE 
ถิ่นกำเนิด                              จีน อินเดียและฮาวาย
ลักษณะทั่วไป
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย
การดูแล
แสง                          ชอบแสงแดดมาก

น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน                           เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์              ตอน ปักชำ

โรคและแมลง               ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่

การป้องกันกำจัด         ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก
ลักษณะเด่น
คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก3-5 แฉก มีกลีบดอก กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณ
ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา
โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก
สรรพคุณทางยาและประโยชน์
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
  • ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
  • ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
  • รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
  • รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
  • บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม





ดอกราตรี




ดอกราตรี





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cestrum nocturnum
วงศ์ : SOLANACEAE (The Tomato Family หรือ The Nightshade Family)
ชื่อสามัญ : Night Hessamine, Queen of the Night
ชื่ออื่น ๆ : ดอกหอมดึก, หอมดึก


ลักษณะทั่วไป

ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตามส่วนยอดและตามโคนก้านใบ ช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกจับกลุ่มกันอยู่มากมาย ซึ่งดอกราตรีนี้จะมีขนาดเล็กมากโตประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร และยาว ๒ เซนติเมตร ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น ๕ แฉก คล้ายกับรูปดาว ดอกมีสีขาวอมเขียวอ่อน ๆ จะมีกลิ่นหอมมาก ๆ ก็ในเวลากลางคืนเท่านั้น พอเช้ากลิ่นก็จะจางหายไป และจะมีกลิ่นอีกทีก็ตอนกลางคืน จึงได้ชื่อว่า "ดอกราตรี"


ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบดกมาก เป็นพุ่มหนาทึบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายใบและโคนเรียวแหลม ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร เมื่อเด็ดใบดูจะมีกลิ่นเหม็นเขียว
ต้น : ราตรีเป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดย่อมที่จะแตกกิ่งก้านสาขาออกมามากมาย ลำต้นสูงประมาณ ๒-๔ เมตร มีเปลือกสีขาวหรือสีเทาอ่อน ๆ




การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิดโดยไม่เลือกดินแต่ต้องมีการระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์การปักชำ

โทษ : ใบมีสาร steroid sapogenin มีพิษต่อหัวใจ ผลดิบมีสารชื่อ solanine ทำให้ท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง ผลสุกมีสารชื่อ atropine ทำให้วิงเวียน ปวดศรีษะ ใจสั่น ประสาทหลอน ม่านตาขยาย ปากแห้ง หลับ ถ้ารับประทานอาจถึงตายได้

การเป็นมงคล
นอกจากจะมีกลิ่นหอมชื่นใจยังให้ความ เป็นสิริมงคลดีมาก ยังเชื่อว่าจะทำให้ผู้ปลูกร่ำรวยยิ่งขึ้นอีกด้วย